Panel/TalkSide Event ยกฟ้อง! จะไปอย่างไรต่อ ประชาชนจะเอาผิด IO อย่างไรได้บ้างในกรอบกฎหมายไทย
EngageMedia
ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, ผู้จัดการ iLaw
วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ภาคเหนือ)
กอบกุศล นีละไพจิตร, เอเชีย เซ็นเตอร์
ผู้ดำเนินรายการ: ญาวีร์ บุตรกระวี ผู้จัดการโครงการสิทธิดิจิทัล (ลุ่มน้ำโขง) เอ็นเกจ มีเดีย
- Wednesday, 24 May 2023 (Day 3)
- 17:00 – 19:00 hrs (GMT+7)
- Book Re:public
นับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 นอกจากการใช้กฎหมายที่เข้มงวดเพื่อปิดปากผู้วิจารณ์รัฐบาล นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และสมาชิกฝ่ายค้านแล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐยังใช้มาตรการนอกกฎหมายอีกด้วย อาทิ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว (การแขวน) รวมถึงการรณรงค์ให้ข้อมูลเท็จทางออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่าปฎิบัติการ IO และถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่บริษัทเทคโนโลยีที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม กลับปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและโจทก์ เมื่อมีการร้องขอข้อมูลเพื่อสนับสนุนในการดำเนินคดี นอกจากนี้ ระบบนิเวศการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศไทยยังถูกครอบงำโดยศูนย์ต้านข่าวปลอม เมื่อพิจารณาจากดุลอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ ภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะมีหนทางในการต่อสู้กับการคุกคามทางออนไลน์ที่รัฐสนับสนุนได้อย่างไรบ้าง กฎหมายที่มีอยู่ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พ.ร.บ. คอมพ์ จะสามารถนำมาใช้ เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบในความเสียหายของประชาชนได้อย่างไรบ้าง